วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีติดรีเลย์เพิ่มกำลังไฟ? รีเลย์ ( Relay )


ติดรีเลย์เพิ่มกำลังไฟรีเลย์ ( Relay )
ทำไมต้องติด?
-
ไฟหน้าไม่สว่าง อยากให้สว่างกว่านี้
-
แตรดังไม่ชัดอยากเปลี่ยนไปใช้แตรเสียงดังๆ
ปัญหาที่เกรินนำ แก้ไขได้ด้วยการต่อเพิ่มรีเลย์เข้าไปในระบบไฟฟ้าของรถท่าน
รีเลย์...

 
รีเลย์ที่ใช้งาน แนะนำของboschแท้ เท่านั้น ราคาประมาณ1ร้อยปลายๆ ของเทียมไม่แนะนำเพราะไม่คุ้มเสี่ยง

Socket 
ใช้ควบคู่กับ ซอคเก็ต( Socket )  เป็นเสมือนที่เสียบสายไฟเข้าไปหาตัวของ รีเลย์
 

สายไฟ...
สายไฟฟ้าที่ใช้เดินมีหลายขนาด สายเล็กใช้เดินจากสวิทซ์มาเลี้ยงคอลย์รีเลยเพราะกินไฟน้อยแทบไม่รู้สึกอะไร แต่สายที่ต่อจากแบตเตอรี่ต้องใหญ่เพราะไฟไหลมากกว่า
สายไฟต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง ถ้าเล็กไปสายไฟจะไหม้แต่ถ้าใหญ่ไปก็เปลืองเงิน สายไฟในรถยนต์จะบอกขนาดเป็น AWG หรือ American wire gauge
ขนาดที่ใช้กันคือ
เบอร์16ทนได้ 6A  , เบอร์14ทนได้15A
 
เบอร์12ทนได้20A , เบอร์10ทนได้25A
เบอร์ 8 ทนได้ 35A  , เบอร์6ทนได้50A 

เริ่มทำการเดินสายไฟให้อุปกรณ์ที่เราต้องการครับ 
 
การเข้าสายไฟที่เรียบร้อยและปลอดภัย
   
จากแผนผังด้านบนจะเห็นได้ว่า 
-
ที่เบอร์ 30 จะมีสายไฟ + ไปเข้า นั่นหมายถึงการนำสายไฟที่ลากยาวมาจากแบตฯของเรามาที่ขานี้
-
ที่เบอร์ 87 (จะมี 87 สองขั้ว) มีไว้ต่อไปยังอุปกรณ์ที่เราเพิ่มเข้ามาหรือ หลอดไฟหน้า หรือแตร  และต่อขั้วลบของอุปกรณ์ไป
ลงกราวน์ที่ตัวถัง หรือขั้วลบของแบตฯ
-
ส่วนเบอร์ 85 และ 86 นั้น มีไว้ต่อมาจากสวิทซ์ ไปลงกราวน์ แต่ต้องบรรยายเพิ่มเติมตรงที่ ท่านต้องทราบก่อนว่า อุปกรณ์เก่าเช่น ไฟหน้า แตร สวิทซ์ที่ควบคุมมัน ตัดไฟกราวน์ หรือไฟบวก    ยกตัวอย่างไฟหน้ารถเรา สวิทซ์(ถ้าเป็นรุ่นเก่ามีสวิทซ์)จะตัดไฟบวก   ให้ท่านนำสายไฟ ที่ต่อจากหลอดเดิม (ในที่นี้ มีไฟสูงต่ำ  ต่ำเป็นขาว  สูงเป็นสีน้ำเงิน ( การต่อจะเป็นดังภาพถัดไป )  เข้าไปที่ขั้วเบอร์ 86 ของรีเลย์
และ ที่ขั้ว 85 ของรีเลย์ ให้ต่อลงกราวน์ (ตัวถังหรือ ขั้วลบของแบตฯแล้วแต่สะดวก)  แต่หากสวิทซ์เป็นตัวตัดกราวน์ให้ต่อกลับกันโดยให้เอาขั้วจากสวิทซ์เดิมเข้าที่ขั้วเบอร์ 85 ของรีเลย์ แล้วขั้ว 86 ลงกราวน์แทน (จะพบกับรถบางยี่ห้อ)
 

ภาพนี้เป็นส่วนของไฟหน้า
ตามภาพเราจะเห็นได้ว่ามีรีเลย์ สองตัว เพราะมันมีไฟสูง และไฟต่ำ หลักการเดียวกับขางบน แต่ปรับเปลี่ยนเพิ่มนิดหน่อยคือ ให้นำสายสีขาว เข้าขั้วเบอร์ 86 ของรีเลย์ตัวที่ สายสีน้ำเงิน เข้าขั้ว 86 ของรีเลย์ ตัวที่ 2 **
รีเลย์ตัวที่ 1 จะทำหน้าที่เป็นไฟต่ำ 
รีเลย์ตัวที่ 2 จะทำหน้าที่เป็นไฟสูง ***  ส่วนขาที่ 87 ที่รีเลย์จะมีสองขั้วทุกอัน โดยการต่อให้ต่อ ขั้วเบอร์ 87 จากรีเลย์ตัวที่ 1 ไปยังไฟต่ำทั้งสองหลอด และต่อจากขั้วเบอร์ 87 จากรีเลย์ตัวที่ 2 ไปไฟสูงทั้งสองหลอด และต่อขั้วลบเดิม(สายสีเทา) ไปลงกราวน์ที่ตัวถังหรือขั้วลบของแบตฯ

ฟิวส์ ( Fuse )
( ตัดก่อนตาย เตือนก่อนวายวอด )
การต่อรีเลย์ทุกครั้งจะต้องผ่านฟิวส์เสมอ ฟิวส์มีหลายขนาด  ทั้งแบบใช้ไฟน้อยๆพวกพิวส์หลอดไม่เกิน 10A พิวส์เสียบแบนไม่เกิน 30A ฟิวส์แบบกล่อง ไม่เกิน 50A  ทั้งหมดมีหน้าที่เดียวกันคือให้ละลายตัวเองให้ขาดตอนมีเหตุผิดปกติไม่ให้สายไฟและอุปกรณ์ไหม้





ดูเอาครับ ขอบคุณแหล่งที่มา aeracingclub อีกเช่นเคย
IPB Image
IPB Image
IPB Image

IPB Image
IPB Image


ขอบคุณข้อมูลที่ผมได้เจอมา จึงได้นำมาเผยแพร่ให้ได้รู้กัน

2 ความคิดเห็น: